ตำนานสงครามวอเตอร์ลู

Untitled

สมรภูมิวอเตอร์ลูเป็นอีกเหตุการณ์สำคัญอย่างหนึ่งในสงครามนโปเลียน เป็นช่วงที่จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 กลับมาครองบัลลังก์อีกครั้งซึ่งเรียกช่วงสมัยนี้ว่า “สมัยร้อยวัน” สมรภูมินี้ได้เริ่มขึ้นวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1815 ที่เมืองวอเตอร์ลู ประเทศเบลเยี่ยม เป็นการต่อสู้ระหว่างกองทัพฝรั่งเศสซึ่งจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 เป็นแม่ทัพกับกลุ่มสัมพันธมิตร ศึกครั้งนี้ทางพันธมิตรหลักๆได้ส่งกองทัพอังกฤษโดยมีดยุคแห่งเวลลิงตัน (จอมพลอาเธอร์ เวลเลสลี่ย์) มาเป็นแม่ทัพ และมีการส่งกองทัพจากปรัสเซียซึ่งมีจอมพลเกอร์ราด วอน บลูเกอร์เป็นแม่ทัพ

จุดฉนวนสาเหตุการเกิดสงครามวอเตอร์ลูเริ่มจากการประชุมสภาคองเกรสที่เวียนนาซึ่งเป็นการประชุมก่อนที่จะถึงศึกวอเตอร์ลูเพียง 9 วัน ทางฝ่ายสัมพันธ์มิตรซึ่งประกอบไปด้วยรัสเซีย ปรัสเซีย ออสเตรียร่วมกับอังกฤษมาประชุมกัน ซึ่งทางนั้นประกาศหารือแล้วว่านโปเลียนเป็นศัตรูและเป็นผู้สั่นคลอนสันติภาพของโลก จุดมุ่งหมายของการประชุมครั้งนี้ต้องการที่จะให้มีการจัดระเบียบยุโรปกันใหม่หมดทั้งมวล แต่ในการประชุมครั้งนี้แทนที่จะประชุมกันอย่างเป็นมิตร กลับกลายเป็นเหมือนศัตรูต่อกัน และความต้องการที่จะประสงค์ให้ออสเตรียกับอังกฤษออกจากกลุ่มสัมพันธมิตรก็ไม่สำเร็จ

Untitled                  Untitled

Untitled

หลังจากที่นโปเลียนถูกส่งตัวกลับไปยังเกาะเอลบาแล้วปรากฏว่าท่านแอบหลบหนีออกมา การกลับมาครั้งนี้นโปเลียนก็พาเหล่าทหารฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งประมาณ 250,000 คนติดตามมาด้วย ก่อนที่ท่านจะมาถึงตัวเมืองปารีสนั้นกองทัพของท่านได้พบกับกองทัพของนายพลไมเคิล เนย์ ซึ่งเป็นเคยนายพลคู่ใจของนโปเลียน นายพลเนย์ได้รับคำสั่งจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ซึ่งมาครองบัลลังก์แทนนโปเลียนตอนที่นโปเลียนโดนเนรเทศให้ไปตามจับกุมนโปเลียนมาให้แด่พระเจ้าหลุยส์ เมื่อนโปเลียนพบกับนายพลเนย์ ท่านได้ยกมือขอยอมแพ้แล้วบอกกับนายพลเนย์ว่า “ถ้าอยากจะฆ่าจักรพรรดิ์ของเจ้า ข้าอยู่นี่แล้ว” แต่ทว่ากองทัพของนายพลเนย์กลับไม่มีใครยิงนโปเลียนแม้แต่คนเดียว อีกทั้งทหารของฝ่ายนายพลเนย์ต่างก็ไปต้อนรับนโปเลียนเป็นอย่างดี เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ทราบข่าวการกลับมาของนโปเลียนจึงหลบหนีออกไป

Untitled             Untitled

Untitled

หลังจากที่ดยุคเวลลิงตันเดินทางออกจากเวียนนาไปที่บรัสเซลส์ เขาได้ไปพบกับนายพลบลูเกอร์ที่ เพอร์มองต์ในวันที่ 3 พฤษภาคม พวกเขาทั้งสองนั้นไม่คาดหมายว่านโปเลียนจะยกกองทัพเข้าโจมตีกองทัพของตน แต่ตกลงกันว่าถ้าหากนโปเลียนทำการรบโดยบุกโจมตีก่อนก็จะรวมทัพที่ควอเตอร์บราสกับซอมเบรฟเฟ่ จากนั้นทั้งสองได้แยกย้ายไปจัดเตรียมกองทัพของตัวเอง โดยทางบลูเกอร์ไปตั้งทัพที่นาเมอร์ ส่วนดยุคเวลลิงตันไปจัดทัพที่บรัสเซลส์

 Untitled

ในวันที่ 14 มิถุนายน นโปเลียนได้ย้ายกองบัญชาการไปตั้งอยู่ที่ชาร์เลรอยด์ โดยที่เวลลิงตันกับบลูเกอร์ไม่รู้ว่าทางนโปเลียนนั้นมีแผนการบางอย่างอยู่ ช่วงดึกวันที่ 15 มิถุนายน กองกำลังของนโปเลียนบุกเข้าโจมตี เวลลิงตันเกรงว่านโปเลียนจะขนาบปีกขวาเพื่อตัดแนวรบของตนไม่ให้ถอยร่นเข้าไปยังบรัสเซลส์ เท่ากับ

ว่ากองทัพของเวลลิงตันนั้นก็ออกห่างจากกองทัพของบลูเกอร์ ต่อมาวันที่ 16 มิถุนายน นโปเลียนต้องปะทะกับบลูเกอร์ ซึ่งตอนนั้นบลูเกอร์ยังคงแยกจากทัพของเวลลิงตันอยู่ โดยเกิดศึกประจันหน้าระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซียขึ้นที่เมืองลิกนี่ (Ligny) กองทัพนโปเลียนโจมตีทางปีกซ้าย (ทางตะวันออกของแนวรบ) โดยจุดประสงค์หลักของการโจมตีครั้งนี้เพื่อให้กองทัพของบลูเกอร์ถอยร่นไปทางตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงเหนือให้ห่างจากกองทัพของเวลลิงตัน จากนั้นนโปเลียนก็รอกำลังเสริมของนายพลเนย์เพื่อให้ปีกซ้ายมีกำลังเข้มแข็งพอที่จะทำลายศัตรูให้แตกหักต่อไป การต่อสู้ที่ลิกนี่นั้นแม้ทางฝ่ายนโปเลียนจะได้รับชัยชนะก็จริง แต่ว่าเป็นชัยชนที่ะไม่เด็ดขาดค่ะและนายพลเนย์ก็ไม่เข้าใจแผนของนโปเลียนจึงไม่ได้ส่งกองกำลังเสริมมาโจมตีกองทัพปรัสเซีย ส่วนทางบลูเกอร์นั้นมีแผนต้องการให้ทัพของตนนั้นอยู่ใกล้กับกองทัพของเวลลิงตันให้มากที่สุด จึงถอยทัพไปยังทางเหนือของเมืองวัฟเร่

ความผิดพลาดของนโปเลียนซึ่งตอนนี้เป็นช่วงที่นโปเลียนต้องใช้ความรวดเร็วเป็นอย่างมาก นั่นคือ  นโปเลียนสั่งให้กองทัพเป็นฝ่ายเปิดศึกชิงโจมตีศัตรูก่อนให้มากที่สุด แม้ว่าจะได้เปรียบในด้านการเดินทางที่เร็วกว่าก็จริงจนศัตรูไม่มีเวลาตั้งตัวได้ทัน แต่ว่าการรบของนโปเลียนนั้นต่ำกว่าเกณท์ที่กำหนดไว้ ซึ่งในวันที่ 16 -17 มิถุนายนนั้นเป็นการใช้เวลาอันเปล่าประโยชน์ของนโปเลียน ยามบ่ายของวันที่ 17 มิถุนายนนั้นทางกองทัพของนโปเลียนได้เคลื่อนทัพเข้าไป แต่เวลลิงตันรู้แผนการของนโปเลียนก่อนหน้าแล้วจึงเคลื่อนทัพมาที่วอเตอร์ลู ณ เบลเยี่ยม และในวันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่สภาพอากาศไม่เอื้อต่อการรบ พื้นดินก็เต็มไปด้วยโคลนตมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กองทัพของนโปเลียนเดินทัพมาช้ากว่าที่กำหนดไว้ จึงทำให้ศัตรูของนโปเลียนรู้แผนการของนโปเลียนทั้งหมด จากนั้นก็เริ่มเปิดศึกโจมตีประมาณช่วงเวลา 11 โมงกว่าๆ การรบเป็นไปอย่างดุเดือดจนกระทั่งช่วงเวลา 6 โมงเย็นในวันนั้นทางกองทัพฝรั่งเศสสามารถยึดฟาร์มฮูทกรูมอนได้สำเร็จ

Untitled                       Untitled

ในขณะที่กองทัพของเวลลิงตันกำลังจะเสียท่านั้น โชคดีที่กองทัพของนายพลบลูเกอร์ก็มาสมทบได้ทันเวลา จากนั้นก็ระดมกองทัพตนเข้าโจมตีกองทัพฝรั่งเศส จนกระทั่งสถานการณ์ของกองทัพฝรั่งเศสเข้าขั้นวิกฤต ทางกองทัพอังกฤษได้สั่งให้ทางกองทัพฝรั่งเศสยอมจำนนในศึกครั้งนี้ แต่ทว่าทหารฝรั่งเศสบางส่วนกลับโจมตีโต้ตอบ ท้ายที่สุดผลการสู้รบของสงครามครั้งนี้ปรากฏว่าทางฝ่ายกองทัพนโปเลียนได้ขอยอมแพ้ หลังจากที่นโปเลียนยอมรับความปราชัยไป นโปเลียนก็กลับไปยังกรุงปารีส ท่านถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์อีกเป็นครั้งที่ 2 และเป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต เพราะท่านถูกส่งตัวไปยังเกาะเซนต์เฮเลน่าและใช้ชีวิตไปอยู่ ณ เกาะแห่งนั้นจนสิ้นพระชนม์ ส่วนทางด้านเวลลิงตันเองก็ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบูรุษผู้พิชิตนโปเลียน ถึงแม้ว่าทางกองทัพอังกฤษจะเป็นฝ่ายชนะแต่ท่านเวลลิงตันกลับรู้สึกช้ำใจเป็นอย่างมากที่ได้รับชัยชนะแต่กลับมีทหารล้มตายเป็นจำนวนมากเหมือนดังประโยคที่ท่านได้กล่าวเอ่าไว้ว่า “ชัยชนะท่ามกลางซากศพเป็นชัยชนะที่น่าเศร้ายิ่งนัก” และเวลลิงตันก็ได้สาบานกับตัวเองว่าจะไม่คุมทัพที่ใดอีกต่อไป จากนั้นเวลลิงตันได้กลับมาเล่นการเมืองโดยเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ การรบในครั้งนี้ถือว่าเป็นการปิดฉากของสงครามนโปเลียนอย่างถาวร ซึ่งเป็นการรบที่ยืดเยื้อระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสมานาน และเป็นสมรภูมิครั้งสุดท้ายของนโปเลียนและเวลลิงตันเช่นกัน อาร์เธอร์ เวลสลีย์ ผู้เป็นดยุคแห่งเวลลิงตันจึงมีชื่อเสียงในการสยบศึกนโปเลียนครั้งนี้และได้เป็นผู้ปกครองดูแลเมืองเวลลิงตันในเวลาต่อมา

Untitled

Untitled

UntitledUntitledUntitled

This entry was posted in ตำนานสงครามวอเตอร์ลู. Bookmark the permalink.

Leave a comment